ไขมันในเลือดสูง มีหลายชนิด แต่ที่คนเรามักรู้จักและคุ้นหูกัน เป็นสาเหตุหลักๆของโรคอันตรายร้ายแรงอาทิเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคเส้นเลือดขาตีบ จะมีอยู่ 3 ชนิดได้แก่
คอเลสเตอรอล เอช ดี แอล (HDL)
คอเลสเตอรอล แอล ดี แอล (LDL)
คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride)
.

.

.

.
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) และ เอช ดี แอล (HDL) *หากตรวจพบ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง อาจเกิดจาก Lipoprotein ที่สูงได้ 2 ชนิดได้แก่
.
1.ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือไขมันชนิดที่ไม่ดี เป็นชนิดอันตรายเพราะเป็นคอเลสเตอรอลที่ไปสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง
2.ชนิดความหนาแน่นสูง (HDL)หรือไขมันชนิดที่ดี ทำหน้าที่ขจัดไขมันอันตรายไปจากกระแสเลือดต่อต้านการสะสมผิดที่ของไขมันและคอเลสเตอรอล
.
*ดังนั้น ถ้าพบว่าคอเลสเตอรอลสูงจะต้องแยกว่าตัวที่สูงเป็นตัวร้าย (LDL) หรือผู้พิทักษ์ (HDL)
.
ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ถ้าไตรกลีเซอร์ไรด์มีปริมาณสูง จะมีความเสี่ยงทำให้เลือดเข้มและมีความเหนียวสูง จึงทำให้จับตัวเป็นลิ่มไปอุดตันและบดบังทางเดินเลือด วิธีการลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ต้องควบคุมอาหารโดยควบคุมน้ำหนักตัว ลดของหวาน และแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานและช่วยในการทำงานของหัวใจ
.
เมื่อออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ถูกวิธี และสม่ำเสมอแล้ว ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ มักจะลดลง และสามารถเพิ่มปริมาณไขมันผู้พิทักษ์ได้
.




.
ทั้งคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ เป็นไขมันที่ร่างกายได้มาจาก 2 ทาง คือ จากอาหารที่รับประทาน และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกาย
.




อาหารจากพืชจะไม่มีโคเลสเตอรรอล แต่อาหารที่มาจากเนื้อสัตว์จะมีโคเลสเตอรรอลมากน้อยแตกต่างกัน ที่มีมาก ได้แก่ เครื่องในต่าง ๆ ไข่แดง นม เนย เนื้อติดมัน หนังสัตว์ และสัตว์ที่มีกระดอง เช่น กุ้ง หอย ปลาหมึก ปู
.
ส่วนไตรกลีเซอร์ไรด์จะได้จากน้ำมันและไขมันของอาหารทุกชนิด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้ ไขมันในเลือดสูง
.




.
คอเลสเตอรอลที่ร่างกายสร้างขึ้นเองโดยการเผาผลาญอาหารพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์ อวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างโคเลสเตอรอล คือ ตับ สารอาหารที่จะกระตุ้นการสร้างคอเลสเตอรอล ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ
.
ส่วนไตรกลีเซอร์ไรด์มีทั้งที่ได้จากอาหาร และถูกสร้างขึ้นโดยตับเช่นเดียวกัน โดยจะถูกกระตุ้นให้สร้างมากขึ้นโดย แอลกอฮอล์ น้ำตาล และพลังงานที่ได้รับมากเกินไป
.




1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
2. โรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ขาดฮอร์โมนจากต่อมธัยรอยด์
3. จากยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์
4. การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ
5. การดื่มสุราเป็นประจำ
.


1. โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้มีอาการแน่นหน้าอก โดยเฉพาะขณะออกกำลังกาย
2. อัมพาต แขนขาไม่มีแรงข้างใดข้างหนึ่ง
3. เส้นเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ โดยเฉพาะบริเวณขาทำให้เดินแล้วปวดน่อง
.


คอเลสเตอรอล เอช ดี แอล (HDL) เป็นไขมันตัวสำคัญในการป้องกันหลอดเลือดแข็ง ผู้ที่มีระดับ HDL ต่ำ มีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
.




.
ข้อควรปฏิบัติ
1. จำกัดอาหาร และเลือกรับประทานให้เหมาะสม โดยลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และ/หรือคอเลสเตอรอล ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ สัตว์ที่มีกระดองแข็ง เช่น หอยนางรม ปู ปลาหมึก น้ำมันมะพร้าว กะทิ เป็นต้น รับประทานกรดไลโนเลอิก เช่น น้ำมันพืช ที่ทำจากข้าวโพดหรือถั่วเหลือง ซึ่งกรดนี้จะช่วยลดการสร้างคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ในร่างกาย
2. งดสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดบุหรี่
3. ออกกำลังกายให้เป็นประจำ
4. ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน
5. กินผัก ธัญพืชให้มากขึ้น
.
ทั้งหมดนี้หากท่านสามารถทำได้ ก็จะไม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงอีกต่อไป แต่ถ้าท่านตอบว่ายาก แสดงว่าท่านกำลังทำร้ายตัวเองอยู่ เลิกเถอะ
หรือลองเลือดดิ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Benecol (เบเนคอล) ช่วยลดคอเลสเตอรอล ldl กันได้เลย >>กดเลือกสั่งชื้อสินค้า<<
หรือลองเลือดดิ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Benecol (เบเนคอล) ช่วยลดคอเลสเตอรอล ldl กันได้เลย >>กดเลือกสั่งชื้อสินค้า<<
.
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.si.mahidol.ac.th